เมนู

กำลงของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว 1.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญโพชฌงค์ 7 อบรม
ดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญโพชฌงค์ 7 อบรมดีแล้ว นี้เป็น
กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว 1.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอริยมรรคประกอบ
ด้วยองค์ 8 อบรมดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอริยมรรค
ประกอบด้วยองค์ 8 อบรมดีแล้วนี้เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ
ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะ
ทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว 1.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ 8 ประการ
นี้แล ที่เป็นเหตุให้ท่านผู้ประกอบแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว.
จบ ทุติยพลสูตรที่ 8

อรรถกถาทุติยพลสูตรที่ 8


ทุติยพบสูตรที่ 8

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า พลานิ ได้แก่ กำลังคือพระญาณ. บทว่า อาสวานํ
ขยํ ปฏิชานาติ
ความว่า ย่อมปฏิญาณพระอรหัต. บทว่า อนิจฺจโต
แปลว่า โดยอาการมีแล้วหามีไม่. บทว่า ยถาภูตํ แปลว่า ตามที่

เป็นจริง. บทว่า สมฺมปฺปญฺญาย ได้แก่ ด้วยสัมมาวิปัสสนาและ
มรรคปัญญา. บทว่า องฺคารกาสูปมา ความว่า กามเหล่านี้ท่าน
เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่าทำให้เร่าร้อน. บทว่า
วิเวกนินฺนํ ได้แก่ น้อมไปในพระนิพพาน ด้วยอำนาจผลสมาบัติ.
บทว่า วิเวกฏฺฐํ ได้แก่ เว้นหรือห่างไกลจากกิเลสทั้งหลาย. บทว่า
เนกฺขมฺมาภิรตํ ได้แก่ ยินดียิ่งในบรรพชา. บทว่า พยนฺตีภูตํ แปลว่า
มีที่สุด (คือตัณหา) ไปปราศแล้ว คือ แม้โดยเอกเทศก็ไม่ติดอยู่
ไม่ประกอบไว้ ไม่เกี่ยวข้อง. บทว่า อาสวฏฺฐานิเยหิ ได้แก่ จากธรรม
อันเป็นเหตุแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยอำนาจการประกอบไว้ อธิบาย
ว่า จากกิเลลธรรมทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พยนฺตีภูตํ แปลว่า
ปราศจากตัณหาอันชื่ออันชื่อตันตี1 อธิบายว่า ปราศจากตัณหา. บทว่า
สพฺพโส อาสวฏฺฐานิเยหิ ธมฺเมหิ ความว่า จากธรรมอันเป็นไป
ในภูมิ 3 ทั้งหมด. ในสูตรนี้ ท่านกล่าวถึงอริยมรรคทั้งที่เป็น
โลกิยะและโลกุตตระ.
จบ อรรถกถาทุติพลสูตรที่ 8
1. ตันตี เป็นชื่อของตัณหา เพราะเป็นสายดุจเส้นเชือกผูกโยงสัตว์ใช้ในวัฏฏสงสาร ฯ

9. อักขณสูตร


[119] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมกล่าวว่า
โลกได้ขณะจึงทำกิจ ๆ แต่เขาไม่รู้ขณะหรือมิใช่ขณะ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย กาลมิใช่ขณะมิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
8 ประการนี้ 8 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต
อุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก
บุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นจำแนกธรรม และธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง นำความสงบมาให้ เป็นไป
เพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว
แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงนรกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่
สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ 1.
อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นในโลก ฯลฯ เป็นผู้จำแนก
ธรรม และธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง... แต่บุคคล
ผู้นี้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ
มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ 2.
อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้เข้าถึงปิตติวิสัยแล้ว ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ข้อที่ 3.